สัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 1
สัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 1/ 2566สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 1/2565 Gene Therapy บรรยาย เรื่อง The ethics of gene therapy. วันที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 09.00-14.00 น. ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปีการสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ลงทะเบียน 09.00 น.
10.00-10.15 น พิธีเปิด โดย ท่านอธิบดี
10.15-11.00 น. บรรยาย เรื่อง The ethics of gene therapy.
โดย J. Timothy Stout, MD, PhD, MBA. Director-Cullen Eye Institute and Chair-
epartment of Ophthalmology
Baylor College of Medicine
Houston, TX US
11.15-12.30 น. Inflammation and gene therapy, nanoparticle and CRISPR knockout monkey.
โดย Mark Pennesi, MD, PhD.
Professor in Ophthalmology
Oregon Health & Science University, US
วันนี้ (12 มกราคม 2566) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 หัวข้อเรื่อง “GENE THERAPY (ผลิตภัณฑ์ยีนบำบัด)” ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.นนทบุรี ว่า การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยีนบำบัดและผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงนับเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้การสนับสนุน ได้มีความร่วมมือในการวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิดและผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดชนิด Mesenchymal Stem Cell มากว่า 10 ปี และได้ขยายสู่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยีนบำบัดและผลิตภัณฑ์ Extracellular Vesicles จากเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Mesenchymal Stem cell
สำหรับในประเทศไทย ถึงแม้จะมีการวิจัยด้านยีนบำบัดและผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงมาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ใดผ่านการรับรองสำหรับนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้ในปัจจุบัน ยังคงเป็นการศึกษาในระดับห้องทดลอง ในระดับสัตว์ทดลอง และการวิจัยทางคลินิกเท่านั้น ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ละอองศรี อัชชนียะสกุล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในการเตรียมและตรวจสอบคุณภาพเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Mesenchymal Stem Cells สำหรับใช้ในการพัฒนาวิธีรักษาผู้ป่วยโรคตาชนิด Retinitis Pigmentosa มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติในปี 2021 และได้ต่อยอดสู่การวิจัยและพัฒนาการเตรียม Extracellular Vesicles จากเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Mesenchymal Stem Cells ซึ่งสะดวกในการใช้งานและเก็บรักษามากกว่าการใช้ Mesenchymal Stem Cells รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยีนบำบัดสำหรับรักษาโรคตาที่เกิดจากความผิดปกติ ทางพันธุกรรม ซึ่งในต่างประเทศ มีผลิตภัณฑ์ ยีนบำบัดที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาจำหน่ายในราคาสูงถึง 425,000 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) หรือประมาณ 14.45 ล้านบาทต่อตาหนึ่งข้าง
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่อว่า หากความร่วมมือในครั้งนี้สามารถวิจัยเรื่องนี้ได้สำเร็จ จะช่วยให้ผู้ป่วยไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงได้มากขึ้น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ราคาแพงจากต่างประเทศ นับเป็นการสนับสนุนแผนงานสำคัญตามจุดมุ่งเน้น หรือ Flagship ตามแผนงานด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขายาและวัคซีนอีกด้วย
“ในปี 2566 นับเป็นโอกาสอันดีที่ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงละอองศรี อัชชนียะสกุล หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดให้มีการประชุม Research Team Meeting 2023 โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับนานาชาติ Dr.Timothy Stout, Director-Cullen Eye Institute and Chair-Department of Ophthalmology, Baylor College of Medicine และDr.Mark Pennesi, Professor, Casey Eye Institute, Oregon Health & Science University มาให้ความรู้ที่ทันสมัย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยไทย รวมทั้งแบ่งปันประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักวิชาการที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งภายในและภายนอกกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อันจะช่วยให้การวิจัยประสบความสำเร็จ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ และนวัตกรรม ที่นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยการสัมมนาวิชาการครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การจัดสัมมนาในห้องประชุม และในรูปแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม ZOOM และ Facebook Live สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้แก่บุคลากรส่วนกลาง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกแห่ง และผู้สนใจในการสัมมนาวิชาการ” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว
ที่มาของข่าว: https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1784
ภาพกิจกรรม
พิธีเปิดการสัมมนาวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์